วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ความเค้นและความเครียด


 ความเค้นและความเครียด
(Stress and Strain)
ในการวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างหรือเครื่องจักรกลใด ๆ เรามีข้อต้องพิจารณาอยู ่2 ข้อ คือ
1. ภายในโครงสร้างแข็งแรงพอที่จะรับน้าหนักหรือแรงที่กระทำได้หรือไม่
2. ภายในโครงสร้างแกร่งพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปร่างมากเกินไปหรือไม่
ในวิชากลศาสตร์ เราจะพิจารณาแรงในวัตถุโดยไม่คำนึงถึงขนาดที่เปลี่ยนแปลง แต่ใน วิชากลศาสตร์ของแข็ง เราจะต้องพิจารณาทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันไปด้วย
ชนิดของแรง (Types of loads)
แรงที่กระทำต่อวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างใด ๆ ก็ตาม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.             แรงที่อยู่นิ่ง (static load)

เป็นแรงที่กระทำต่อชิ้นส่วนของโครงสร้างอย่างช้า ๆ จนกระทั่งมีค่าถึงค่าหนึ่ง แล้วจะมีค่าคงที่อยู ่ตลอดไปหรือเกือบเท่ากับค่านั้นตลอดไป เช่น แรงที่กระทำบนอาคารต่าง ๆ แรงเนื่องจากความดัน ของภายในหม้อความดันที่กระทำต่อรอยเชื่อม
1.             แรงที่กระทำซ้า ๆ (repeated load)

หมายถึง แรงหรือน้าหนักที่กระทำต่อโครงสร้างหรือวัสดุหลายครั้งซ้า ๆ กัน และสลับกันไปมา ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น แรงกระทำต่อข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ เพลารถไฟ ก้านลูกสูบของเครื่องอัด อากาศ ฯลฯ
1.             แรงกระแทก (impact load)

เป็นแรงที่กระทำต่อชิ้นส่วนในระยะเวลาอันสั้นโดยปกติแล้วไม่สามารถที่จะหาระยะเวลาที่แรง กระแทกนี้กระได้ล่วงหน้า เช่น แรงกระแทกที่เกิดจากรถยนต์วิ่งข้ามสะพาน หรือการปล่อย น้าหนักกระทบบนส่วนของโครงสร้าง เป็นต้น
1. ความเค้น (Stress)
ความเค้น คือ แรงภายนอกที่มากระทำผ่านจุดศูนย์ถ่วงของพื้นที่หน้าตัดของวัสดุนั้น หรือ คือแรงภายนอกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ใช้สัญลักษณ์ว่า σ (sigma) โดยวิธี take limit จะได้ว่า
σ = OAlim→Δ AΔPΔ (2.1)
σ = AP
เมื่อวัตถุอยู่ในสภาวะสมดุล แรงภายนอกที่มากระทำบนวัตถุจะต้องมีแรงภายในต้าน ขนาดรวมแล้วเท่ากับแรงภายนอกของวัตถุที่ถูกกระทำ
แรงภายนอก = แรงภายใน
F = P
ดังนั้น σ = AF (2.2)
กําหนดให้ σ คือ AF เป็นแรงภายนอกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งเรียกว่า ความเค้น (stress)
A คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุ
F คือ แรงภายนอกที่กระทำกับวัตถุ
เนื่องจากในที่นี้เราจะใช้หน่วยระบบเอสไอ (SI metric units) ดังนั้นแรง (F) จึงมีหน่วย เป็นนิวตัน (N) พื้นที่ (A) มีหน่วยเป็นตารางเมตร (m2) และความเค้น (σ) มีหน่วยเป็นนิวตันต่อ ตารางเมตร (N/m2) หรือเรียกว่า ปาสคาล (Pa)
ชนิดของความเค้นที่เกิดขึ้นกับวัสดุสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.1 ความเค้นดึง (tensile stress) สัญลักษณ์ σt จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ภายใต้แรงดึง โดย แรงดึงจะต้องตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดที่กระทำนั้น ความเค้นดึงจะให้เครื่องหมายแสดงเป็นบวก
สมการ σt = (2.3)
ให้ σt คือ ความเค้นดึงที่เกิดขึ้นมีหน่วยเป็น N/m2
A คือ พื ้นที่หน้าตัดของวัตถุมีหน่วยเป็น m2
F คือ แรงดึงที่กระทำกับท่อนวัตถุตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด มีหน่วย เป็น N
1.2 ความเค้นอัด (compressive stress) สัญลักษณ์ σc จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ภายใต้ แรงอัดโดยแรงอัดจะต้องกระทำตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุที่กระทำนั้น ความเค้นดึงจะ ให้เครื่องหมายแสดงเป็นลบ
จะได้สมการ σc = AF (2.4)
ให้ σc คือ ความเค้นอัดที่เกิดขึ้นมีหน่วยเป็น N/m2
A คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุมีหน่วยเป็น m2
F คือ แรงอัดที่กระทำกับท่อนวัตถุมีหน่วยเป็น N จะได้ความสัมพันธ์
1.3 ความเค้นเฉือน (shear stress) สัญลักษณ์ τ (tau) เป็นแรงภายนอกที่มากระทำต่อ วัตถุนั้นโดยพยายามทำให้วัตถุเกิดการขาดจากกันตามแนวระนาบที่ขนานกับทิศทางของแรงนั้น
จะได้สมการ τ = (2.5)
ให้ τ คือ ความเค้นเฉือนที่เกิดขึ้น มีหน่วยเป็น N/m2
A คือ พื ้นที่หน้าตัดที่ขนานกับแรง มีหน่วยเป็น m2
F คือ แรงเฉือนที่กระทำกับท่อนวัตถุ มีหน่วยเป็น N

ตัวอย่าง 1.1 ลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร นำมาใช้แขวนวัตถุมวล 80 กิโลกรัม จงหา ความเค้นดึงในเส้นลวด
วิธีทำ จากสมการ σt = AF
เมื่อ F = 80 kg×9.81 m/s2
F = 784.8 N
A = 224π mm2
A = 3.1416 mm2
แทนค่า σt = 1416.38.784 N/mm2
σt = 249.809 N/mm2
ตอบ ความเค้นดึงในเส้นลวดมีค่าเท่ากับ 249.809 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
ตัวอย่าง 1.2 เสาคอนกรีตกลวงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 140 มิลลิเมตร และเส้นผ่าน ศูนย์กลางภายใน 60 มิลลิเมตร อยู่ภายใต้ แรงอัดในเสาคอนกรีต 245 กิโลนิวตัน จงหาความเค้น อัดในเสาคอนกรีต
วิธีทำ จากสมการ σc =
เมื่อ F = 245×103 N
A = )60140(422−π mm2
A = 125.37 mm2
แทนค่า σc = 37.12566102453× N/mm2
σc = 19.496 N/mm2
ตอบ ความเค้นอัดในเสาคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 19.496 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
ตัวอย่างที่ 1.3 จงคำนวณหาความเค้นเฉือนที่ใช้ตัดเจาะโลหะหนา 2 มิลลิเมตร ให้เป็นรูขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร โดยใช้แรงในการตัดเท่ากับ 110 กิโลนิวตัน
วิธีทำ จากสมการ τ = AF
เมื่อ F = 110×103 N
A = πdt
A = π×50 mm×2 mm
A = 314.159 mm2
แทนค่า τ = 159.314101103× N/mm2
τ = 350.141 N/mm2
ตอบ ความเค้นที่ใช้ตัดเจาะมีค่าเท่ากับ 350.141 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
2. ความเครียด (Strain)
ความเครียด ใช้สัญลักษณ์ ε อักษรกรีก เรียกว่า epsilon เป็นการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเมื่อ มีแรง ภายนอกมากระทำกับวัตถุ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อขนาดเดิม ซึ่ง หมายถึง ความยาวที่เปลี่ยนไปต่อความยาวเดิม จะได้
ความเครียด =
ε = Lδ (2.6)
กําหนดให้ ε คือ ความเครียด (ไม่มีหน่วย)
δ คือ ความยาวที่เปลี่ยนไปมีหน่วยเป็น mm (อักษรกรีกอ่านว่า Delta)
L คือ ความยาวเดิมของวัตถุ
ชนิดของความเครียด
ความเครียดที่เกิดขึ้นในวัตถุสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ความเครียดดึง (tensild strain) สัญลักษณ์ εt เมื่อท่อนวัตถุถูกกระทำด้วยแรงดึงตาม แนวแกน และเพิ่มแรงดึงขึ้นอย่างช้า ๆ ท่อนวัตถุนี้ก็จะเกิดการยืดออกทีละน้อยตามขนาดของแรง ดึงที่เพิ่มขึ้นของแรง F ทำให้ท่อนวัตถุยืดออกเท่ากับ δ ดังแสดงในรูปที่ 2.6 ขณะที่ท่อนวัตถุยืด ออกก็จะเกิดการหดตามแนวดิ่งของท่อนวัตถุนั้น
เมื่อ εt คือ ความเครียดดึงที่เกิดขึ้น
δ คือ ส่วนที่ยืดออกของวัตถุมีหน่วยเป็น mm
L คือ ความยาวเดิมของวัตถุนั้นมีหน่วยเป็น mm
2. ความเครียดอัด (compressive strain) สัญลักษณ์ εc เมื่อท่อนวัตถุถูกกระทำด้วยแรง กดตามแนวแกน และเพิ่มแรงกดขึ้นอย่างช้าจนทำให้ท่อนวัตถุหดตัวลงเท่ากับ
รูปที่ 2.7 ความเครียดอัด
จะได้สมการ εc = Lδ
เมื่อ εc คือ ความเครียดกดที่เกิดขึ้น
δ คือ ส่วนที่หดตัวของวัตถุมีหน่วยเป็น mm
L คือ ความยาวเดิมของวัตถุนั้นมีหน่วยเป็น mm
หมายเหตุ ความเครียดดึงและความเครียดอัดจะไม่มีหน่วย เพราะหน่วยของความยาวที่ เปลี่ยนไปทำต่อความยาวเดิมเป็นหน่วยเดียวกัน จึงตัดไปหมด F δ
3. ความเครียดเฉือน (shear strain) สัญลักษณ์ γเรียกว่า gamma เมื่อมีแรงเฉือนกระทำ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือเกิดความเครียดขึ้นมา ความเครียดที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า ความเครียดเฉือน
รูปที่ 2.8 ความเครียดเฉือน
ความเครียดเฉือน γ = Lδ
แต่ tan θ = Lδ
γ = tanθ
เมื่อ θ เป็นมุมที่เฉไป แต่มุม θ นี้จะเล็กมาก ดังนั้น
tanθ θ เรเดียน
ดังนั้นความเครียดเฉือนจึงเป็นการวัดมุมที่เฉไป มีหน่วยเป็นเรเดียน (rad) δ τ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น